โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

ผศ. น.ท. นพ. สรยุทธ ชำนาญเวช อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ สาขาประสาทศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาวิจัยและตีพิมพ์บทความในปี 2562 ในหัวข้อโรคหลอดเลือดสมอง รู้ได้เร็ว รักษาได้ทัน จากผลการศึกษาพบว่าความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

อาการของโรคหลอดเลือด

จากผลการวิจัยของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2556 พบว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถพบอาการได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ความรุนแรง และระยะเวลาที่สมองขาดเลือดหรือได้รับความเสียหาย โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้

  • เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย

  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก

  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด

  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด

  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย

  • ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ

  • ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

  • สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว

  • ไม่เกิดความพิการซ้ำซ้อน

  • ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง

อาการของโรคหลอดเลือด

  • เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย

  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก

  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด

  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด

  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย

  • ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ

  • ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

  • สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว

  • ไม่เกิดความพิการซ้ำซ้อน

  • ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง

ช่วงเวลาสำคัญของการดูแล

พญ. หทัยรัตน์ ผดุงกิจ แพทย์ประจำโรงพยาบาลเปาโล อายุรแพทย์ ชำนาญการด้านระบบประสาทและสมอง ได้ศึกษาและตีพิมพ์บทความในหัวข้อโรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2563 เพื่อเป็นการมอบความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชน จากผลการศึกษาระบุว่า หลังผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองผ่านช่วงวิกฤติ ระยะเวลาที่ได้ผลดีในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย (Golden Period) คือ ไม่เกิน 3 – 6 เดือนแรกหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะสมองสามารถฝึกและพัฒนาได้ดีที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สมองจะฟื้นตัวไวและสามารถแสดงศักยภาพที่เหลืออยู่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากผ่าน 6 เดือนไปแล้ว แม้สมองจะมีอัตราการพัฒนาที่น้อยลง แต่ก็ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง การได้รับการดูแลด้วยบุคลากรหลากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ดูแลและญาติในกระบวนการต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วย ย่อมช่วยฟื้นฟูสมองของผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ

แหล่งที่มา

วางแผนดูแลผู้ป่วยสมอง

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการศึกษาและจัดทำแนวทางคู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน ในปี 2556 โดยรวบรวมองค์ความรู้ทั้งจากเอกสารตำราและการถอดประสบการณ์ในการปฏิบัติจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดำเนินวิถีชีวิตที่ถูกต้อง โดยในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง แพทย์จะวางเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับนักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล เพื่อให้การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะมีการประชุมทีมทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยจะดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่

ด้านร่างกาย

นพ. ทศพร เอกปรีชากุล แพทย์ประจำโรงพยาบาลกรุงเทพ แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ และ อ. ดร. วราภรณ์ คำรส ได้ทำการศึกษาวิจัยในปี 2562 ในหัวข้อโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต จากงานวิจัยพบว่าการพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้โดยการออกกำลังกายลงได้ประมาณร้อยละ 25 – 45 ในทางตรงกันข้ามการที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองประมาณร้อยละ 20 เลยทีเดียว โดยการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านร่างกาย มีตั้งแต่การฝึกนั่ง ยืน เดิน ขึ้นลงบันได การเคลื่อนไหวมือและแขน การฝึกทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การสวมเสื้อผ้า การรับประทานอาหาร การฝึกกลืน การดูแลการนอน การจัดท่านอน การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การฝึกสื่อสารทั้งการพูดและการฟัง

คู่มือการดูแล ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

ด้านจิตใจ

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านจิตใจมีความสำคัญมาก โดย พ.ต. นพ. อนุวัฒน์ วัลลภาพันธุ์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้มีการศึกษาและตีพิมพ์บทความในหัวข้อ ฟื้นฟูผู้ป่วยสมอง ฟื้นคืนชีวิตใหม่ ด้วยรวบรวมจากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคทางสมองมักมีความกังวลจากการสูญเสียสมรรถภาพไปโดยไม่ทันคาดคิด ทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการภาวะซึมเศร้า ขาดการควบคุมอารมณ์ ทำให้โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและภาวะของโรคในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ดังนั้นการให้กำลังใจ การจัดกิจกรรมสันทนาการ และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัดจึงเป็นวิธีการดูแลรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากการให้ความรักความเข้าใจและให้กำลังใจ เช่น ชมเชยผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อสามารถฟื้นฟูร่างกายได้ หรือผู้ป่วยมีอารมณ์เบิกบาน นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนยังเป็นที่รักแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจต่อสู้กับโรคและเกิดความรู้สึกกับตนเองในทางบวก

แหล่งที่มา

ผู้ดูแลคือหัวใจ

ผู้ดูแล (Caregiver) คือ หัวใจสำคัญในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง เพราะการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การปรับบ้านและสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะกับผู้ป่วย ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากญาติหรือคนในครอบครัว ซึ่งการเรียนรู้หลักการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองอย่างถูกต้องจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญ มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และพัฒนา กระตุ้นสมองให้สร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เดิมที่สูญเสียไปได้อย่างมีศักยภาพ

จากผลการศึกษาวิจัยของนายชัชวาล วงค์สารี และนางศุภลักษณ์ พื้นทอง อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในหัวข้อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล ยืนยันได้ว่า การจัดกิจกรรมชะลอการเสื่อมของสมองในรูปแบบโปรแกรมชะลอการเสื่อมของสมองได้จริง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องมีคือ ทักษะในการฝึกฝนผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำกิจวัตรประจำวัน ทำกับข้าวเมนูง่าย ๆ งานประดิษฐ์ง่าย ๆ ตลอดจนเล่นเกมกระตุ้นความจำ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย และสามารถปรับกิจกรรมการฝึกได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลานั้น ๆ โดยผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ในช่วงระยะฟื้นฟูของผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองก่อนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านนั้น อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม มีความพร้อมด้วยบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกที่ครบในทุกขั้นตอนของการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองในระยะเปลี่ยนผ่านหลังจากผ่านภาวะวิกฤติให้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง ซึ่ง อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม พร้อมให้การดูแลฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเต็มศักยภาพของผู้ป่วยต่อไป

สอบถาม อัตราค่าบริการ , ต้องการคำปรึกษา โทรได้ที่  0994244566