บ้านพักและสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้าย

รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์บทความในหัวข้อ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยมีการอธิบายและระบุคุณลักษณะและนิยามของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดังต่อไปนี้

แหล่งที่มา

  1. ผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่ลุกลามและ ไม่สามารถรักษาได้ เช่น โรคมะเร็งภาวะสมองเสื่อม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส หรือโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม
  2. ผู้ที่มีอาการป่วยที่ ทรุดลงเรื่อย ๆ และมีอาการแทรกซ้อน อื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมด้วยโดยแพทย์คาดว่าผู้ป่วยอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี
  3. ผู้ที่มีอาการป่วยที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากอาการที่กำเริบไปสู่ภาวะวิกฤต
  4. ผู้ที่เผชิญภาวะอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลันจากสถานการณ์ร้ายแรง เช่น เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตันหรือประสบอุบัติเหตุรุนแรง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) คือ การมุ่งเน้นการบรรเทาความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ปัองกันภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เน้นสภาพจิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณของผู้ป่วยและญาติ การดูแลแบบประคับประคองสามารถกระทำได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกระยะ บทบาทที่สำคัญจะอยู่ช่วงสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย โดยนายแพทย์อนุพันธ์ ตันติวงศ์ ดร. ผ่องพักตร์ พิทยพันธ์ และนายแพทย์สุชาย สุนทราภา ได้มีการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์หนังสือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในปี 2558 จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลัวมากที่สุด คือ กลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวการถูกโดดเดี่ยว เขาจึงต้องการใครสักคนที่อยู่เคียงข้าง ยิ่งถ้าเป็นคนที่เขารัก คนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องจะดีมาก ดังนั้น ผู้ป่วยและครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับทีมแพทย์เพื่อวางเป้าหมายการรักษาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและมีกำลังใจพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคร้ายต่อไป

ความต้องการครั้งสุดท้าย (The living will) ควรมีการพูดคุยกันในครอบครัวและเตรียมเอกสารระบุความต้องการของผู้ป่วย ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการด้านการแพทย์ในขณะที่มีสติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับตัดสินใจวางแผนการรักษา โดยเฉพาะในช่วงใกล้เสียชีวิต ซึ่งไม่มีความสามารถพอที่จะตัดสินใจเองได้

การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เป็นการดูแลเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ รวมถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากมะเร็งโดยที่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยหายขาดจากมะเร็ง แต่เป็นการให้ความช่วยเหลือทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณโดยมุ่งเน้นไปที่ตัวตนของผู้ป่วยและครอบครัวมากกว่าโรค ซึ่งวิธีที่ใช้รักษาเพื่อบรรเทาอาการอาจรวมถึงการบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการใช้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี โดยผู้ดูแลควรให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโดยปฏิบัติตามคำแนะนำ

สอบถาม อัตราค่าบริการ, ต้องการคำปรึกษา โทรได้ที่ 0994244566

ขั้นตอนและวิธีการในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการศึกษาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในปี 2557 โดยรวบรวมองค์ความรู้ทั้งจากเอกสารตำราและการถอดประสบการณ์ในการปฏิบัติจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ เพื่อให้ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เหมาะสมต่อบริบทของสังคมไทยมากที่สุด โดยจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นด้วยกัน

แหล่งที่มา

1. การดูแลทางด้านร่างกาย

  • ปัญหาความเจ็บปวด ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักการขององค์การอนามัยโลกที่ให้ยาแก้ปวดตามขั้น และการใช้วิธีที่ไม่เจ็บปวดก่อน โดยให้ประเมินติดตามการเลือกใช้ชนิดและปรับขนาดตามความรุนแรงของยา และเมื่ออาการเจ็บปวดดีขึ้นจึงค่อยปรับลดขนาดยาลงตามลำดับ แต่เมื่อผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความปวดเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ก็ให้เสริมด้วยยาที่ออกฤทธิ์อย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมอาหาร และเฝ้าติดตามอาการเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด
  • ปัญหาด้านการหายใจ อาการหายใจลำบาก หายใจติดขัดเหนื่อยหอบ การหายใจไม่อิ่มเหมือนสำลัก หรือหายใจหนัก เป็นอาการปกติที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทำให้แนวทางการดูแลรักษาจะมุ่งรักษาที่สาเหตุซึ่งสามารถแก้ไขได้ โดยให้เริ่มต้นจากการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินความรุนแรง ประเมินสัญญาณชีพ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ จากนั้นจึงดำเนินการรักษาตามอาการและสาเหตุ เช่น การดูดเสมหะและการเคาะปอดเพื่อลดของเหลวในปอดแก้ภาวะหายใจติดขัด เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การรักษาจะเป็นไปตามอาการแบบประคับประคองโดยไม่จำเป็นต้องพยายามตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม สามารถใช้เครื่องออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจได้
  • ปัญหาผิวหนังและแผลกดทับ ผิวหนังของผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่าย จึงต้องมีการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ แล้วให้ดูแลตามคะแนนจากการประเมิน เช่น ควรพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือตามสภาพผู้ป่วย
  • ปัญหาคลื่นไส้อาเจียน โดย อ. นพ. กิติพล นาควิโรจน์ แพทย์ประจำโรคพยาบาล อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์บทความในหัวข้ออาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อันเกิดจากพยาธิสภาพของโรค สภาพร่างกายของผู้ป่วย หรือเกิดจากผลข้างเคียงในการรักษา ซึ่งต้องมีการประเมินและหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และรักษาผู้ป่วยตามสาเหตุ สามารถรักษาได้โดยการใช้ยา หรือไม่ใช้ยา เช่น ปรับอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานและโปรตีนเพื่อส่งเสริมภาวะทุพโภชนาการ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง แต่ปรับให้รับประทานอาหารบ่อยขึ้นแทน ดื่มเครื่องดื่มช้า ๆ บ่อย ๆ ในสิ่งที่ผู้ป่วยชอบแทน เช่น น้ำผลไม้ น้ำขิง น้ำชา เป็นต้น

2. การดูแลทางด้านจิตใจ

  • ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยระสุดท้าย มีการประเมินภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต ประเมินด้านพุทธิปัญญา ความคิดการตัดสินใจผู้ป่วย รวมถึงประเมินปฏิกิริยาของผู้ป่วยทุกวันเพื่อวางแผนให้การรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง ตามหลักประเมิน Five Stage Reaction จากงานวิจัยของ Kubler-Ross ในปี 2512 ในบทความ On death and dying ซึ่งผลการวิจัยพบว่าระยะและปฏิกิริยาต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะช็อกและปฏิเสธ 2. ระยะโกรธ 3. ระยะต่อรอง 4. ระยะซึมเศร้า 5. ระยะยอมรับ ซึ่งทั้ง 5 ระยะนี้จะไม่เกิดขึ้นผู้ป่วยระยะสุดท้ายทุกรายเสมอไป แพทย์และครอบครัวจึงต้องมีการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
  • การทำ Living Will และ Family Planning ครอบครัวและผู้ป่วยจะต้องมีการแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้แพทย์เจ้าของไข้สามารถประเมินการรักษาอาการได้อย่างถูกต้องตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553

3. การดูแลทางสังคม

  • การทำ Family Planning เพื่อค้นหาความต้องการของครอบครัวและตัวผู้ป่วยเอง
  • สร้างเครือข่ายและสนับสนุนทางสังคม ศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและสภาพแวดล้อมอย่างใกล้ชิด จัดกิจกรรมส่งเสริมการเข้าสังคมให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้ป่วยจะได้รับความรักและความเอาใจใส่

4. การดูแลทางจิตวิญญาณและศาสนา

  • สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย แสดงถึงความเอาใจใส่ เอื้ออาทร ห่วงใย รักษาความลับและสัญญาที่ให้ผู้ป่วย
  • สนับสนุนพิธีกรรมทางจิตวิญญาณตามความต้องการของผู้ป่วย เช่น การทำบุญใส่บาตรตามประเพณีทางศาสนา การใช้ธรรมบำบัดเพื่อคิดถึงความหมายของชีวิตและชีวิตหลังความตาย