คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ก็เริ่มมีปัญหาสุขภาพและโรคร้ายต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า ส่งผลกระทบกับระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย หนึ่งในนั้น คือ ปัญหาในด้านการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่แน่นอนเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น เซลล์ขนหูที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับเสียงในหูของเราก็จะเสื่อมสภาพลง ทำให้คนแก่มีอาการที่เรียกว่า “หูตึง” นั่นเอง เมื่อการได้ยินไม่ปกติ ทำให้การสื่อสารพูดคุยกับผู้สูงอายุเองก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น ผู้พูดต้องพูดด้วยเสียงที่ดังขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ยินอย่างชัดเจน

หรือในกรณีอื่น ๆ อย่างที่ผู้สูงอายุบางท่าน อาจมีโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือเนื้องอก เกิดขึ้นตรงบริเวณช่วงลำคอหรือกล่องเสียง ทำให้ต้องผ่าตัดเจาะคอหรือผ่าตัดเอากล่องเสียงออก หรือผู้สูงอายุที่ต้องมีการคาท่อในโพรงจมูกหรือลำคอเองก็ตาม โดยผู้สูงอายุเหล่านี้ต่างเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านการสื่อสารทั้งสิ้น สำหรับผู้ดูแลแล้วการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ผ่านการพูดคุยโดยตรงอาจเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย แต่ที่อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในย่านพระราม 2 เราเชื่อว่าการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ด้วยความอดทนและความเข้าใจ จะทำให้การดูแลพวกเขาง่ายขึ้นมาก ๆ และในวันนี้เรายังมีคำแนะนำสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการสื่อสารมาฝากกันอีกด้วย

 

คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาในด้านการสื่อสาร

  • ความพยายามเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การสื่อสารของคุณกับผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะสื่อสารกันด้วยวิธีการใดก็ตาม คุณจะต้องมีความอดทนกับพวกเขาและพยายามที่จะเข้าความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่พวกเขาต้องการให้ได้มากที่สุด

  • ใช้รูปประโยคที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายที่สุด

หากต้องการให้แน่ใจว่าการสื่อสารระหว่างคุณและผู้สูงอายุนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุณควรที่จะใช้คำหรือประโยคสั้น ๆ ที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญต้องพูดอย่างชัดเจน และชัดถ้อยชัดคำ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางด้านการสื่อสาร 

  • ใช้รูปภาพหรือท่าทางเพื่อช่วยในการสื่อสาร

หากผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุโดยตรงได้โดยการใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว ให้ลองพิจารณาการใช้ท่าทาหรือรูปภาพประกอบ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณและผู้สูงอายุสามารถก้าวข้ามผ่านกำแพงของการสื่อสารของกันและกันได้ โดยรูปภาพสามารถนำมาใช้ประกอบการทำกิจวัตรประจำวันหรือตัวเลือกที่ผู้สูงอายุต้องเลือก ในขณะที่ท่าทางจะช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ถามย้ำว่าเข้าใจที่สื่อสารตรงกันหรือไม่

หลังจากที่สื่อสารออกไปแล้ว คุณจะต้องไม่ลืมที่จะถามย้ำเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างคุณและผู้สูงอายุ และเพื่อทำให้แน่ใจว่าสิ่งที่คุณเข้าใจนั้นไม่ได้คลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการจะสื่อสาร นอกจากนี้ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกล้าที่จะสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

  • ฟังอย่างตั้งใจเมื่อพวกท่านต้องการสื่อสาร

หลายครั้งที่ความลำบากในการสื่อสารทำให้ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาเหล่านี้หมดกำลังใจ หลายครั้งพวกเขาก็ไม่ได้อยากที่จะสื่อสารหรือพูดคุยกับใครอีกเพราะรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจ แต่สำหรับผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุนั้นต้องไม่ลืมว่าถึงแม้ผู้สูงอายุจะสื่อสารได้ลำบากมากเพียงใด พวกเขาก็ยังคงมีความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่อยากจะถ่ายทอดออกมา ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้ดีที่สุดในฐานะของผู้ดูแล คือ การตั้งใจฟังและแสดงให้ผู้สูงอายุได้รับรู้ถึงความตั้งใจของคุณ ทุกครั้งที่ผู้สูงอายุต้องการจะสื่อสาร

  • ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

ในปัจจุบันเป็นโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทางการสื่อสารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่หูอื้อหรือหูตึง ไม่ค่อยได้ยินเสียง ยังมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่อย่างเครื่องช่วยฟังและประสาทหูเทียมที่สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุได้ยินมากขึ้นและสื่อสารได้ดีขึ้น

  • ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยคุณดูแล

ในท้ายที่สุดแล้ว หากคุณรู้สึกว่าการสื่อสารระหว่างคุณและผู้สูงอายุยังเป็นไปได้อย่างยากลำบาก และทำให้คุณดูแลผู้สูงอายุได้ไม่เต็มที่ ลองให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการรับมือกับผู้สูงอายุเข้ามาช่วยดูแล นอกจากจะทำให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ยังสามารถที่จะให้คำแนะนำกับคุณได้ด้วยว่าจะต้องดูแลผู้สูงอายุต่อไปอย่างไร

 

ARYUWAT NURSING HOME ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยครบวงจรในย่านพระราม 2 เราดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้สูงอายุและผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยแพทย์ พยาบาล และพนักงานผู้ช่วยพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างดี