อัลไซเมอร์ เป็นชื่อโรคที่เราทุกคนอาจจะเคยได้ยินบ่อยๆ และเข้าใจว่าคนเป็นอัลไซเมอร์จะต้องมีอาการความจำเสื่อม ซึ่งความเข้าใจนี้จะถูกต้องหรือไม่ เรามาดูรายละเอียดในบทความนี้กัน

อัลไซเมอร์ มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของเนื้อสมองที่มักเกิดใน คนชรา แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้สูงอายุทุกคนจะต้องมีภาวะนี้ แต่เป็นเพราะเนื้อสมองเสื่อมเนื่องจากมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ไปจับกับเซลล์ ทำให้เซลล์สมองเสื่อมลง เมื่อเซลล์สมองเสื่อมและตายไปเป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม , การเรียนรู้ และบุคลิกภาพ

อาการของ อัลไซเมอร์ ในระยะแรกอาจจะยังสังเกตได้ไม่ชัด เพราะอัลไซเมอร์มีระยะเวลาก่อโรคนานกว่า 15-20 ปี และอาการของโรคไม่เพียงแค่มีอาการหลงๆลืมๆเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วยอาการอื่นๆอีก ซึ่งเราสามารถสรุปอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ดังต่อไปนี้

ระยะแรก จะมีอาการความจำถดถอย ถามซ้ำ พูดซ้ำในเรื่องเดิมๆ เครียด อารมณ์เสียง่าย และมีอาการซึมเศร้า

ระยะที่ 2 ความจำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น จากคนที่ใจเย็นก็กลายเป็นคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เริ่มมีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน

ระยะที่ 3 ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้น้อยลง มีการเคลื่อนไหวน้อยลงหรือบางคนอาจมีภาวะคล้ายกับ ผู้ป่วยติดเตียง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด

การ ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะอัลไซเมอร์ทำได้อย่างไร

  1. พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง โดยต้องบอกขั้นตอนแต่ละส่วนอย่างช้าๆ และให้ผู้ป่วยค่อยๆเรียนรู้เกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวันไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบ
  2. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ระมัดระวังอุบัติเหตุ เพราะเมื่อเข้าสู่ช่วงระยะที่ความจำเริ่มแย่ลง ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิม อาจเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มสะโพกหัก หรือเดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย ซึ่งผู้ดูแลต้องคอยระมัดระวังอย่างใกล้ชิด
  3. จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยทำ เพื่อชะลอความเสื่อมของสมองและยังคงความสามารถเดิมเอาไว้ เช่น เล่นเกม , บวกเลขง่าย ๆ , ทายภาพคนในครอบครัว
  4. พยายามพูดคุยและบอกเล่าสิ่งต่างๆด้วยความนุ่มนวล ใจเย็น เพราะผู้สูงอายุที่มีภาวะอัลไซเมอร์ จะมีอารมณ์ฉุนเฉียว โมโหง่าย
  5. ผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์ และเป็น ผู้ป่วยติดเตียง ต้องดูแลสุขอนามัย,อาหาร และทำ กายภาพบำบัด อย่างสม่ำเสมอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
  6. ควบคุมโรคประจำตัวของผู้ป่วยไม่ให้กำเริบ เพราะอาจจะซ้ำเติมให้สุขภาพแย่ลงได้

 

หากต้องการคนดูแลคนที่คุณห่วงใยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้ในยามเจ็บป่วย เลือก อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม พระราม2 ฝั่งธน ที่ให้การดูแล ด้วยทีมแพทย์ พยาบาล พร้อมทั้งนักกายภาพบำบัด 24ชม ที่สามารถให้การ ดูแลผู้สูงอายุ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยสโตรก โรคหลอดเลือด ฟื้นฟูและพักฟื้นหลังผ่าตัด หกล้มสะโพกหัก ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเป็นมืออาชีพ