ผู้ป่วยติดเตียง (Bedridden) คือ คำที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะร่างกายเสื่อมโทรมไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันโดยการ ยืน เดิน หรือวิ่งได้ตามปกติ ต้องนอนราบกับเตียงตลอดเวลาและต้องอาศัยผู้ดูแลในการช่วยเหลือเพื่อทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ โดยการที่ผู้ป่วยต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นอาจเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น การประสบอุบัติเหตุรุนแรง ความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง การผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเกิดสภาวะติดเตียงได้บ่อยที่สุด คือ กลุ่มผู้สุงอายุ เพราะอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่แบบนี้ได้ และนอกจากนี้การเป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องใช้ชีวิต 24 ชั่วโมงอยู่บนเตียงไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระบนเตียง ยังนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ตามมาได้อีกมากมาย เช่น แผลกดทับ การสำลักอาหาร การติดเชื้อในระบบหายใจ การติดเชื้อในระบบขับถ่าย หรือภาวะปอดแฟบที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม อยากจะมาให้ความรู้และคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยกันในบทความนี้

ปอดแฟบ คืออะไร?

ปอดแฟบ คือ ภาวะที่ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ เกิดจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว หายใจตื้น มีสิ่งอุดตันในหลอดลมเล็กๆ ถุงลมในปอดตีบ มีแรงดันจากช่องเยื่อหุ้มปอด ไม่สามารถไอขับเสมหะออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและการระบายอากาศไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหมุนเวียนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมได้ ส่งผลให้หายใจได้ไม่เต็มที่ หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ

ทำไมผู้ป่วยติดเตียงถึงเสี่ยงเกิดสภาวะปอดแฟบ? 

สาเหตุที่ผู้ป่วยติดเตียง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดสภาวะปอดแฟบนั้นเป็นเพราะว่าผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในท่านอนเป็นส่วนใหญ่ และผู้ป่วยจะหายใจตื้นกว่าปกติทำให้ปอดขยายได้ไม่เต็มที่ และเกิดภาวะปอดแฟบและหอบเหนื่อยในเวลาต่อมา ลักษณะอาการของภาวะปอดแฟบที่สังเกตได้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมักมีอาการไอ
  • ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่ายขณะทำกิจกรรมต่างๆ
  • ผู้ป่วยมีลักษณะตัวเขียวเนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • มีการขยายตัวของทรวงอกน้อยลง

นอกจากในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ยังมีกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดภาวะปอดแฟบได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีอายุต่ำกว่า 3 ปี ผู้ที่มีกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจอ่อนแรง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อเสื่อมหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง ผู้ที่หายใจเข้าไม่สุด ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดท้อง หรือซี่โครงหัก เป็นต้น

ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรได้บ้างเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปอดแฟบ?

เพราะผู้ป่วยติดเตียงสามารถขยับตัวได้เพียงเล็กน้อย หรือในบางรายเองก็ไม่สามารถขยับตัวได้เลย ผู้ดูแลจึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะจะช่วยดูแลและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปอดแฟบนี้ให้กับผู้ป่วยติดเตียงได้ เช่น ผู้ดูแลควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งในช่วงเวลากลางวันเพราะในท่านั่งผู้ป่วยจะหายใจได้ลึกมากกว่าและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะปอดแฟบได้ ควรเพิ่มความระมัดระวังในระหว่างการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกถั่ว ข้าวโพด หรือธัญพืชที่อาจหลุดเข้าไปและทำให้เกิดการอุดตันในหลอดลมและทำให้เกิดภาวะปอดแฟบตามมา หรือการทำกายภาพบำบัดเพื่อบริหารปอดและฝึกไอเพื่อกำจัดเยื่อเมือกที่เป็นต้นเหตุของการเกิดปอดอุดตัน เป็นต้น

ให้อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ราคาถูก ช่วยดูแลคนที่คุณรัก

เพราะเรารู้และเข้าใจว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จึงเป็นแนวคิดและที่มาของการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงแบบครบวงจรของ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ที่พร้อมช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียงและช่วยฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วย โดยการให้บริการจากทีมแพทย์ พยาบาล และผู้ประกอบสหวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ มั่นใจได้เลยว่าเมื่อคุณให้เราได้ดูแลคนที่คุณรัก เราจะช่วยคุณดูแลพวกเขาอย่างเต็มที่แน่นอน