ความต้องการของผู้สูงอายุที่เรามักไม่รู้
ในยุคสมัยที่การแพทย์รุ่งเรืองและมีนวัตกรรมใหม่ๆมากมายในการรักษาผู้ป่วยและทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น ยิ่งทำให้ยุคสมัยนี้ผู้สูงอายุมีจำนวนอัตราส่วนมากขึ้น และ มากยิ่งกว่าอัตราส่วนการเกิด ทำให้สังคมและเทรนด์ต่างๆเริ่มเชื่อมโยงไปให้ความสำคัญผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ
การรับดูแลผู้สูงอายุจากบ้านพักหรือสถานที่ต่างๆก็เป็นอีกหนึ่งบริการในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี โดยความต้องการของผู้สูงอายุนั้นมีหลายอย่าง เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรับหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ เช่น การต้องการสังคมที่คล้ายๆกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักจะเริ่มห่างหายกับเพื่อนๆและไม่ค่อยมีสังคม การที่ได้เข้าสังคมทำให้เป็นการเติมเต็มจิตใจ และ ช่วยให้ได้ใช้ความคิดความรู้ในการเข้าร่วมสังคม เป็นผลดีกับร่างกายและจิตใจด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุ
ซึ่งสังคมที่ผู้สูงอายุต้องการจากสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุก็ไม่ใช้แค่เพียง สังคมผู้สูงอายุที่อยู่ด้วยกันเพียงอย่างเดียว แต่การที่มีผู้รับดูแลผู้สูงอายุด้วยนั้นทำให้ผู้สูงอายุได้รับการบริการที่ดีขึ้นและได้รับสังคมที่แตกต่างในวัยอื่นๆเช่นเดียวกัน
ผู้ดูแลมีหน้าที่ รับผิดชอบในการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การดูแลด้านอารมณ์ การดูแลด้านสังคม การดูแลด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ คอยช่วยจัดกิจกรรมต่างๆให้มีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดย ผู้ดูแลจะช่วยการใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่ การ อาบน้ำ เช็ดตัว จัดเตรียมอาหารและยา ดูแลเรื่องการขับถ่ายหรือ การกายภาพบำบัด โดยทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ ความต้องการและสิ่งที่ผู้สูงอายุทำได้หรือไม่สามารถทำได้ ผู้ดูแลจึงจะสามารถให้บริการได้เหมาะสมที่สุด
เช่นผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลด้านร่างกายที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้นั้น ก็มีความยากลำบากมากกว่าเคสปกติทั่วไปทำให้ผู้รับดูแลจำเป็นต้องมีความสามารถในการช่วยเหลือในการใช้ชีวิตและใช้เวลามากกว่าผู้สูงอายุคนอื่นๆ พร้อมทั้งมีความรู้ด้านสุขภาพและด้านการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นอาการของโรค การรักษาโรค การกินให้ถูกหลักโภชนาการที่จะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย พร้อมทั้งเป็นหนึ่งในกำลังใจและเป็นที่รับฟัง
คุณลักษณะสำคัญที่ต้องมีสำหรับผู้ให้บริการรับดูแลผู้สูงอายุ
- เข้าใจถึงความต้องการของผู้สูงอายุ
ผู้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้สูงอายุได้นั้น ต้องมีความเข้าใจใส่ใจปัญหาของผู้สูงอายุว่าเขากำลังพบเจออะไรอยู่บ้าง เช่น ปัญหาเรื่องสุขภาพกายที่ผู้สูงอายุมักพบเจอ เช่น อาการปวดร่างกาย หรือ ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวคนเดียวตลอด ซึ่งหากผู้ดูแลเข้าใจถึงปัญหาและทำการศึกษาวิธีการช่วยเหลือแก้ไข ก็จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับการแก้ไขปัญหา หรือ อย่างปัญหาจิตใจ ที่ผู้สูงอายุอาจมีอาการ ซึมเศร้า ไม่พูดกับใคร หรือไม่ก็ ฉุนเฉียว อารมณ์ร้อนไปเลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้รับดูแลผู้สูงอายุก็ต้องเข้าใจและหาแนวทางในการรับมือให้ได้ โดยหากเราเข้าใจถึง ปัญหาที่เค้าพบเจอ เราก็จะเข้าใจเขาได้มากขึ้น และเตรียมตัวรับมือได้มากยิ่งขึ้น
- เข้าอกเข้าใจ เป็นที่รับฟัง
นอกจากเราเข้าใจความต้องการแล้ว ก็ต้องเข้าอกเข้าใจผู้สูงอายุอย่างแท้จริง เพราะแค่การรับรู้ถึงปัญหา ไม่เหมือนการได้ใช้อารมณ์ร่วมรู้สึกไปกับผู้สูงอายุ ทำให้ไม่เข้าใจผู้สูงอายุได้เท่าที่ควร การที่เปิดใจรับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา และนึกภาพสถานการณ์ต่างๆที่เขาต้องเจอ พร้อมเป็นที่รับฟังให้ระบายใจ และ ช่วยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีมากขึ้น รู้สึกว่ามีคนที่พร้อมเปิดใจรับฟังปัญหาของพวกเขาจริงๆ นอกจากนั้นยังทำให้การทำงานของผู้ดูแลมีความสุขมากขึ้น ไม่ต้องใช้ความอดทนมาก แต่ใช้ความเข้าใจพวกเขาให้มากขึ้น
- ความอดทน
แน่นอนว่างานทุกงานต้องมีความรับผิดชอบ มีความไม่สบาย และ ต้องอาศัยความอดทนในการทำงาน ต่อให้เรามีความเข้าอกเข้าใจผู้สูงอายุมากเท่าไหร่ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยความอดทนในการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นการดูแลผู้สูงอายุยังมีความท้าทายอื่นๆมากมาย ไม่ว่าจะด้านร่างกาย ด้านจิตใจ พฤติกรรมอื่นๆที่ทำให้ผู้ดูแลต้องเข้าใจและปล่อยวางให้ได้ บางสิ่งการสื่อสารก็ต้องใช้ความเข้าใจและความเคารพอย่างมากในการบอก
- ความสามารถในการสื่อสาร
การสื่อสารทางการสนทนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการหรือเรื่องคุยเล่นๆที่เป็นหัวข้อเกี่ยวกับความชอบของใครสักคน ก็ต้องมีการสื่อสารที่ดี เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทำให้ผู้สูงอายุเปิดใจรับฟัง ดังนั้นการเลือกใช้คำพูดอย่างชาญฉลาด ไม่ทำลายจิตใจ จะทำให้เกิดความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทำให้กล้าเปิดเผยเรื่องราวมากขึ้น และทำให้เราเข้าใจตัวผู้สูงอายุมากขึ้น มากไปกว่านั้น ภาษากายก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกว่าเราเคารพนับถือ หรือ เพื่อ แสดงความห่วงใยก็มีแนวทางการแสดงออกสื่อสารที่เหมาะสม ผู้ดูแลจึงควรศึกษาเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติพัฒนาในการทำงาน
- มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
ความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ เช่นอาการสำลักอาหาร การทำ CPR อาการของโรคที่ผู้สูงอายุมักเป็น เบื้องต้น ก็จะทำให้ผู้ดูแลสามารถป้องกันเบื้องต้นกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นได้ พร้อมทั้งเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ผู้สูงอายุสามารถมาปรึกษาได้ มากไปกว่านั้น ผู้ดูแลผู้สูงอายุนั้นมักอาศัยอยู่ใกล้เคียงตลอดเวลา จึงทำให้พร้อมสังเกตอาการผิดปกติได้