แม้ว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันจะเบาบางลง แต่ก็ยังคงมีการระบาดระลอกใหม่เรื่อย ๆ ซึ่งสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การระบาดของโควิดระลอกเล็ก ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แถมในปัจจุบันสถานพยาบาลก็ไม่ได้แออัดเหมือนในช่วงแรกที่มีการระบาดของโควิด หากจะเข้ารับการรักษาก็มีสถานพยาบาลและทีมแพทย์ พยาบาลรองรับอยู่

 

และอีกหนึ่งทางเลือกในช่วงนี้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ก็สามารถที่จะกักตัวเองได้ที่บ้านหรือทำ Home Isolation ได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายคนเลือกใช้ในปัจจุบันเพราะไม่ต้องเสียเวลานานไปกับการอยู่โรงพยาบาลซึ่งเป็นสถานที่ที่ตนเองไม่คุ้นเคย แต่อย่างไรก็ตามการทำ Home Isolation ก็อาจจะยังไม่เหมาะกับผู้ติดเชื้อบางกลุ่ม ดังนั้นในบทความนี้จะขอพามาดูว่าผู้ป่วยโควิด-19กลุ่มใดบ้างที่เหมาะสำหรับการทำ Home Isolation และเกณฑ์ที่จะใช้ตัดสินใจว่าผู้ป่วยโควิดสามารถทำการรักษา Home Isolation ได้ดูอย่างไร รวมไปถึงหาข้อสรุปว่าผู้สูงอายุสามารถทำการรักษา Home Isolation ได้หรือไม่ หากไม่ได้ควรทำอย่างไรในขั้นตอนต่อไป

 

ใครบ้างที่เหมาะสำหรับการทำ Home Isolation

1.กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะรุนแรง

ผู้ป่วยสีเขียว คือ กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่มีโรคประจำตัวที่ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่รุนแรงขึ้นได้ โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีลักษณะของอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่

  • มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ไม่รับรส ไม่รับกลิ่น
  • ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • ตาแดง มีผื่น และถ่ายเหลว

 

2. ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคที่แพร่เชื้อจากคนสู่คนผ่านทางสารคัดหลั่งของร่างกาย ดังนั้นหากผู้ป่วยที่เป็นโควิดต้องอยู่อาศัยร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ได้ติดเชื้อก็อาจมีความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นหากไม่ได้ระมัดระวังให้ดี โดยเฉพาะบางบ้านที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีผู้อยู่อาศัยในบ้านร่วมกันหลายคนไปตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวยิ่งไม่ควรที่จะทำการรักษาโควิดแบบ Home Isolation เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ คือ กลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรงและผลลัพธ์ที่ตามมาอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนที่เรารัก นอกจากนี้หากมีการกักตัวร่วมกับผู้ปลอดเชื้อ สถานที่กักตัวของผู้ป่วยควรเป็นห้องนอนและมีห้องน้ำในตัว เพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

 

สรุปว่าผู้สูงอายุสามารถทำการรักษาโควิด-19 ได้หรือไม่ 

คำตอบ คือ “ไม่ควร” โดยผู้สูงอายุในที่นี้ คือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป อย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่อคนเราแก่ตัวลง โดยเฉพาะคนในวัยเลยเลข 6 ไปแล้ว มักจะมีโรคภัยต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นโรคไตเรื้อรัง,โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน หรือโรคอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้มากขึ้น และถึงแม้ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรงดีก็ไม่ควรทำอยู่ดี เพราะคนในวัยนี้มักจะมีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ หากได้รับเชื้อโควิด-19 ชนิดที่รุนแรงมา ก็อาจทำให้มีอาการแย่กว่าคนที่อยู่ในวัยต่างกันได้

 

หากไม่มีอาการรุนแรงแต่ไม่สามารถทำ Home Isolation ได้ ติดต่อที่ไหนดี 

หากคุณเป็นผู้ป่วยโควิด 19 ในกลุ่มอาการสีเขียวที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง แต่ไม่สามารถทำการรักษาแบบ Home Isolation เพราะความไม่สะดวกในด้านใดด้านหนึ่ง เรายินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหรือสถานที่ทางการแพทย์อย่าง อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม ที่ให้บริการรับดูแลผู้ป่วยโควิด 19 

 

ดังนั้นแล้วหากคุณเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีคนดูแลที่บ้านหรือไม่สะดวกในการทำ home isolation ก็สามารถเข้ามาใช้บริการกับอายุวัฒน์ได้ ซึ่งที่อายุวัฒน์ของเรานั้น มีบริการห้องพักสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 และยังมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นที่สูงอายุ แถมเรายังมีทั้งห้องพักที่สะดวกสบาย และมีทีมแพทย์ พยาบาลหรือผู้ร่วมสหวิชาชีพที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุคอยดูแล เฝ้าระวัง และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เหมาะมากสำหรับผู้ดูแลหรือญาติที่ไม่มีเวลาว่างในการเฝ้าระวังผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และญาติหรือผู้ดูแลสามารถเลือกได้เองด้วยว่าจะให้ทางสถานพยาบาลเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรับยาในการรักษาโรคโควิด-19 ให้กับผู้ป่วย หรือจะติดต่อประสานงานด้วยตนเอง