หากพบว่าคุณ หรือคนที่คุณรัก เริ่มมีพฤติกรรมและสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เริ่มมีอาการหลงลืม สับสนในเรื่องวิธีการดำเนินชีวิตง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมอาการหลงลืมเหล่านี้เป็นสัญญาของโรคความจำเสื่อมหรือไม่ จำเป็นต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เลยหรือไม่ หรือเป็นเพียงอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นได้ตามช่วงอายุวัย บทความนี้ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ มีคำตอบจะไขข้อสงสัยของเพื่อน ๆ ให้กระจ่างกัน ใครที่กำลังสับสนกับอาการหลงลืมเช่นนี้ มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
การกระทบกระเทือนทางจิตใจทำให้ความจำเสื่อมสูญเสียความทรงจำ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
ผศ. พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล จิตแพทย์ ศูนย์สมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพญาไท 3 ได้กล่าวว่าในกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะความจำเสื่อมสูญเสียความทรงจำชั่วคราว อาจเกิดขึ้นได้จากการเสียระดับความสมดุลในร่างกาย ซึ่งในทางจิตวิทยานั้น มนุษย์เรามีระดับการรับรู้อยู่สองส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ระดับจิตสำนึกหรือระดับการรับรู้ปกติ และระดับจิตใต้สำนึก เป็นส่วนที่เกิดขึ้นแล้วแต่เราจำไม่ได้
ในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการความจำเสื่อมบางรายอันเกิดจากการกระทบกระเทือนจิตใจมาก ๆ ร่างกายจะมีกลไกการป้องกันทางจิตใจ ผลักให้ข้อมูลส่วนนี้ลงไปอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก ทำให้เกิดสูญเสียความทรงจำในส่วนนั้นไป แต่ผู้ป่วยก็ยังคงรับรู้และจดจำเรื่องราวอื่น ๆ ได้ตามปกติ ส่วนบางเรื่องที่อาจจะสร้างบาดแผลจนระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกไม่สามารถรับได้ เรื่องราวนั้นก็จะหายไปจากความทรงจำเช่นกัน โดยอาการที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ไม่ใช่อาการของโรคความจำเสื่อม เพียงแต่เป็นกลไกการป้องกันตัวของร่างกายมนุษย์เราเท่านั้น
ความแตกต่างระหว่างอาการหลงลืมตามวัย และโรคอัลไซเมอร์
การหลงลืมตามวัยแบบที่พบได้ทั่วไป โดยปกติแล้วมนุษย์เราอายุมากกว่า 60 ปี สมองของเราจะเริ่มถดถอยตามวัย ทำให้กระบวนการคิดช้าลง และทำสิ่งต่าง ๆ นานขึ้น รวมถึงอาจเริ่มมีอาการหลงลืมบ้าง เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อคนรู้จักที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่หากมีการบอกใบ้ก็จะสามารถนึกออกได้ในที่สุด ซึ่งอาการหลงลืมเช่นนี้เป็นอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นปกติตามวัย ไม่ใช่อาการของโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการความจำเสื่อม หลงลืมแบบเข้าข่ายโรคความจำเสื่อม ผู้ป่วยมักจะจำไม่ได้เลยว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ได้รับการบอกใบ้แล้วก็นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก ลืมแม้กระทั่งการใช้เครื่องมือง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน หากเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยถือว่ามีสัญญาณเสื่อมของสมอง และมีอาการเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์แล้ว ควรต้องพบแพทย์และได้รับการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างถูกวิธี เพื่อชะลออาการ
ความแตกต่างระหว่างโรคความจำเสื่อม และโรคสมองเสื่อม
หลายคนคงมีความสับสนว่าโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมเป็นโรคเดียวกัน ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งสองโรคนี้เป็นคนละโรคกัน โดยโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการหรือสัญญาณความเสี่ยงในการเกิดโรคอย่างช้า ๆ จนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 5 ถึง 6 ปี ความผิดปกติต่าง ๆ จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นชัดมากขึ้น
สำหรับโรคสมองเสื่อม หรือภาวะสมองเสื่อม คือ ความถดถอยในการทำงานของสมองเสื่อมสมรรถภาพลง อันเนื่องมาจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน ซึ่งมักพบได้ง่ายในกลุ่มผู้สูงอายุ มักมีอาการเริ่มมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองขั้นสูง 6 ด้าน คือ ด้านสมาธิ ด้านการคิด ด้านการตัดสินใจและการวางแผน ด้านความทรงจำ ด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านการเข้าสังคม หากสมองสูญเสียการทำงานในด้านเหล่านี้จนถึงขั้นที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เราเรียกว่าภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครอบครัว หรือจำเป็นต้องใช้บริการผู้ช่วยที่มีความชำนาญในการดูแลป่วยอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมแล้ว
เช็กลิสต์ความเสี่ยงและอาการหลงลืมแบบไหน กำลังเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์
- อาการหลงลืมทั่วไป เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไป ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญไม่ได้
- สับสนเรื่องเวลา สถานที่ หลงทิศทาง เช่น กลับบ้านไม่ถูก หรือไม่รู้ว่าจะเดินทางไปสถานที่นั้นอย่างไร
- ความจำเสื่อมจำบุคคลที่เคยรู้จักไม่ได้ คิดว่าคนในครอบครัวที่คุ้นเคยเป็นคนแปลกหน้า
- มีปัญหาในด้านการสื่อสาร พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ
- มีปัญหาด้านนับถอนเงิน หลงลืมวิธีการใช้โทรศัพท์ และการดูนาฬิกา
- พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป มีอาการความจำเสื่อม พฤติกรรมเริ่มก้าวร้าว เดินออกนอกบ้านเวลากลางคืน
- ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น ความจำเสื่อมลืมวิธีการแปรงฟัน อาบน้ำไม่เป็น
- ซึมเศร้า ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ
หากท่านพบว่าตัวเองหรือคนที่คุณรักเริ่มมีสัญญาณเตือนเข้าข่ายอาการหลงลืมที่กำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เหล่านี้ ท่านควรพาบุคคลเหล่านี้เข้าตรวจพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยอาการ เพื่อเข้ารับกระบวนการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างถูกวิธี เพื่อชะลออาการของโรคให้เกิดขึ้นช้าลง สำหรับท่านใดที่กำลังมองผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม มืออาชีพ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ ยินดีให้บริการ เรามีทีมแพทย์ พยาบาล และเครื่องมือการแพทย์คุณภาพสูง พร้อมให้การดูแลคนที่คุณรักตลอด 24 ชั่วโมง รับรองคนที่คุณรักจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรัก และความเอาใจใส่อย่างเต็มที่แน่นอน