ทราบหรือไม่ว่าโรค Stroke หรือโรคหลอดเลือดในสมอง ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตและทุพพลภาพเป็นจำนวนมาก เพราะมักเกิดอย่างเฉียบพลันจนทำให้ผู้ป่วยไม่ทันได้ตั้งตัว ซึ่งจากสถิติในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในประเทศไทย เสียชีวิตสูงถึง 34,728 คน โดยสาเหตุสำคัญมาจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ อุดตัน หรือเส้นเลือดในสมองแตก จนทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต และบางรายถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรค Stroke จะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตนเอง และหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนก็จะช่วยให้คุณเตรียมรับมือได้อย่างทันถ่วงที ยิ่งหากดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก และนำส่งถึงมือแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โอกาสการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตก็จะลดลงอีกด้วย

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดในสมอง

  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก

ถือเป็นอาการที่ควรต้องมีผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่มีแรง ยกแขน และกำมือไม่ได้ ทำให้ขยับตัวและทำกิจกรรมลำบาก หยิบจับอะไรแล้วของก็จะหล่นจากมือ เดินเซ ยกขาและกระดกเท้าไม่ขึ้น ทำให้มีอาการเดินเซ

  • มีปัญหาด้านการพูดและการฟัง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดฟังคนพูดไม่ออก และเมื่อผู้อื่นถามคำถามอาจมีลักษณะตอบไม่ตรงคำถาม ถามอย่างตอบอย่างได้ รวมถึงมักมีอาการพูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน และนึกคำพูดไม่ออก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคนเมาพูดอ้อแอ้ บางรายอาจถึงขั้นพูดไม่ได้เลยก็มี

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีก

อาการชาจะใกล้เคียงกับการฉีดยาชาเลย ซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองมักมีอาการชาหรืออ่อนแรงที่บริเวณใบหน้าครึ่งซีกด้านใดด้านหนึ่งอย่างฉับพลัน ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกจากมุมปาก รวมถึงหลับตาไม่สนิทข้างเดียวด้วย

  • ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน

ครอบครัวควรดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกหรือผู้ที่มีอาการใกล้เคียงอย่างใกล้ชิด ไม่ควรขับรถหรือเดินทางไปไหนมาไหนด้วยตัวคนเดียว เพราะผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน สามารถมองเห็นได้เพียงด้านเดียวของลานสายตา ทำให้อาจเดินชนของ หรือขับรถผู้อื่นได้

  • มีปัญหาด้านการกลืน

ผู้ป่วยโรค Stroke บางรายอาจพบว่ามีปัญหาในด้านการกลืนอาหาร กลืนน้ำ บางรายถึงขั้นสำลักน้ำหรือแม้แต่น้ำลายตนเองก็มี ซึ่งคนดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก หรือครอบครัวควรต้องติดตามอาการอย่างละเอียด

  • ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน

อาการปวดศีรษะรุนแรงแบบทันทีทันใด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดมักมีอาการร่วมกับอาเจียนร่วม และสุดท้ายเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน นานกว่า 5 นาที โดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทาง เดินเซจนต้องดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อย่างใกล้ชิด

ความรุนแรงของโรค Stroke

  • อาการเตือน

กลุ่มผู้ที่มีอาการเส้นเลือดในสมองแตก หรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ยังไม่มีเกิดการทำลายของเซลล์สมองหรืออาการตายของเนื้อสมองในบริเวณนั้น สมองจะมีอาการขาดเลือดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้มีอาการเป็นนาทีหรือชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ซึ่งลักษณะอาการประกอบไปด้วย กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่แขนข้างเดียว ขาอย่างเดียว หน้าอย่างเดียว การเคลื่อนไหวช้าลง ที่ใบหน้าจะเห็นมุมปากตก ความจำเสื่อมชั่วขณะ และอื่น ๆ

  • อาการปานกลาง (อัมพฤกษ์)

การดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกระยะนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาการขั้นนี้เซลล์สมองจะเริ่มถูกทำลายไปบางส่วนแล้ว แต่ยังไม่ทั้งหมด หากรีบนำผู้ป่วยไปรักษา อาการก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 3 – 6 เดือน ซึ่งอาการของผู้ป่วยระยะนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน นอกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะสูญเสียการทรงตัว ตามัวครึ่งตา สูญเสียความทรงจำ และความสามารถในการคิดและตัดสินใจช้าลง บางรายอาจมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ซึ่งควรต้องดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์และดูแลผู้ป่วยอัมพาตอย่างใกล้ชิด

  • อาการรุนแรง (อัมพาต)

ผู้ป่วยโรค Stroke ถึงขั้นที่เซลล์สมองถูกทำลายทั้งหมดแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ขยับแขนและขาไม่ได้ สูญเสียการทรงตัว พูดสื่อสารไม่ได้ หนังตาตก และกลอกตาไม่ได้ กลืนอาหารลำบาก และสูญเสียความทรงจำ ซึ่งผู้ป่วยในขั้นนี้จำเป็นต้องมีคนดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอยู่ในขั้นที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แล้ว

นี่ก็คือสัญญาณเตือนและอาการของโรค Stroke หากท่านใดที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก หรือดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต อย่าลืมหมั่นสังเกตอาการและสัญญาณเตือนเหล่านี้ไว้ด้วย หากพบว่าคนที่คุณรักมีอาการเข้าข่าย ควรรีบนำตัวส่งแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาสถานที่ที่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอัมพาต สามารถใช้บริการ อายุวัฒน์เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุได้ เรามีทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง รับรองคนที่คุณรักจะได้รับคุณภาพชีวิตและการดูแลที่ดีที่สุดที่คุณสามารถไว้วางใจได้

ข้อมูลโดย

นพ.ปุณณภพ เอมสิริรัตน์

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์