ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก คือภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียการทำงานของแขนและขาในด้านเดียวกัน ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยจะเป็นมาจากโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งในส่วนของการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกทางกายภาพบำบัดนั้นมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงของผู้ป่วยให้ฟื้นตัว โดยเราจะดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อคืนสู่สภาพเดิมหรือใกล้เคียงเดิมมากที่สุด

สำหรับการฝึกดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกให้เคลื่อนย้ายอย่างถูกต้อง เราควรให้ผู้ป่วยเคลื่อนย้ายไปข้างที่ดีเสมอ และทุกกระบวนการจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาล คนดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ นักกายภาพบำบัด แพทย์ หรือญาติผู้ป่วยเสมอ จนกว่าจะแน่ใจว่าผู้ป่วยจะสามารถปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้องปลอดภัยที่สุด

การปฏิบัติดูแลผู้ป่วยอัมพาตและผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ครึ่งซีก

  1. การลุกขึ้นนั่งจากท่านอนหงายของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

การลุกขึ้นนั่งด้วยตัวเอง ถือเป็นขั้นเริ่มของการฝึกดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกให้สามารถเคลื่อนย้ายและใช้ชีวิตประจำวันด้วยตัวเองได้

  • ให้เริ่มจากดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ใช้มือข้างที่ปกติจับมือข้างที่อ่อนแรงข้ามลำตัวมาด้านที่ปกติ
  • จากนั้นให้ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัว หากในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่สามารถพลิกตะแคงได้ด้วยตัวเอง ก็ให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตทำการพลิกตะแคงตัวให้ ด้วยการจับที่สะโพก และหัวไหล่ของผู้ป่วยแล้วพลิกตัวมา
  • ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้ใช้เท้าข้างที่ปกติสอดใต้ข้อเข่าข้างที่อ่อนแรง แล้วจึงใช้ขาข้างที่ปกติเกี่ยวอีกขาลงมาข้างเตียง
  • ต่อมาให้ใช้แขนข้างที่ปกติดันตัวลุกขึ้นมาสู่ท่านั่ง ขณะที่ดันตัวนั่งให้ผู้ป่วยใช้เท้าข้างปกติเกี่ยวอีกข้างลงมาให้ทั้งสองข้างเสมอกันอยู่ในท่านั่งห้อยขา ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่สามารถปฏิบัติได้เอง ให้คนดูแลผู้ป่วยอัมพาตใช้มือหนึ่งสอดใต้บ่าและสะบักของผู้ป่วย ส่วนอีกมือหนึ่งดันเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วยลงมาข้างเตียงพร้อมกันกับยกผู้ป่วยขึ้นนั่ง ผู้ป่วยก็จะอยู่ในท่าห้อยเท้าได้
  1. การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้เดินอย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกส่วนใหญ่มักจะใช้เครื่องช่วยเดิน ไม่ว่าจะเป็นไม้เท้าข้างเดียว ไม้เท้าสามขา ไม้เท้าสี่ขา หรือจะไม่ใช่เลยก็ตาม ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความมั่นคงในการเดินของผู้ป่วยในแต่ละราย

  • สำหรับวิธีการฝึกดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้เดินได้อย่างมั่นคง ให้เริ่มจากท่ายืนตรง เฉลี่ยน้ำหนักลงทั้งสองขาเท่า ๆ กัน
  • ยกไม้เท้าวางเฉียงด้านหน้าขาด้านที่แข็งแรงเล็กน้อย แล้วจึงก้าวขาข้างที่เป็นอัมพาตตามมาด้านหน้าจนเสมอไม้เท้า
  • ปิดด้วยการก้าวขาข้างที่แข็งแรงมาด้านหน้าจนเสมอขาอีกข้างหนึ่ง ฝึกทำเช่นนี้จนผู้ป่วยชำนาญ ก็จะสามารถใช้ไม้เท้าช่วยเดินได้อย่างมั่นคง
  1. การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้เดินขึ้นลงบันไดอย่างปลอดภัย
    • การฝึกดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกให้เดินขึ้นลงบันไดอย่างปลอดภัย เราจะเริ่มจากให้ผู้ป่วยขึ้นบันไดด้วยการก้าวข้างที่ดีขึ้นก่อน จากนั้นจึงก้าวขาข้างอ่อนแรงตามขึ้นไป
    • การลงบันไดให้สลับกัน โดยให้ก้าวขาข้างอ่อนลงก่อน แล้วจึงตามด้วยขาข้างที่ดีตามมา พยายามฝึกจนผู้ป่วยมีความชำนาญและการตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างระมัดระวัง

เป็นหน้าที่ของญาติมิตรครอบครัว พยาบาล และคนดูแลผู้ป่วยอัมพาตที่ต้องทำความเข้าใจถึงหลักการปฏิบัติเหล่านี้ไว้ให้ขึ้นใจ เพื่อจะนำไปฝึกปฏิบัติคอยฝึกดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้เรียนรู้จนผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้เองอย่างปลอดภัย สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต สามารถติดต่อขอใช้บริการอายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุได้ ที่นี่เรามีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตเป็นอย่างดี ทีมงานของเราสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนที่คุณรักตลอด 24 ชั่วโมง