โรคความจำเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ส่งผลต่ออาการหลงลืมความจำเสื่อม แต่อัลไซเมอร์ยังเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นอาการป่วยที่รุนแรงในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงได้ หากคุณรู้จักดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างถูกวิธี และหมั่นให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมกระตุ้นสมองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงและบรรเทาอาการของโรคความจำเสื่อม ดังนั้นบทความนี้ อายุวัฒน์ ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ จะมาแนะนำ 4 กิจกรรมกระตุ้นสมองที่ช่วยให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากโรคความจำเสื่อม จะมีกิจกรรมใดบ้างทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
- ฟังเพลงช่วยลดความจำเสื่อม
ดนตรีถือเป็นยาวิเศษที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ของผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมได้ดี ซึ่งเชื่อมไปสู่กระบวนการคิดและความจำของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สามารถชะลออาการความจำเสื่อมลงได้ โดยข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยังกล่าวว่า แม้ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมจะมีการถดถอยในด้านความจำและด้านอื่น ๆ ของสมอง แต่ยังสามารถรับรู้ถึงเสียงดนตรีได้ ดังนั้นการฟังเพลงและร้องเพลงจึงถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่เหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ควรจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความจำในการทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น
- อ่านหนังสือห่างไกลอัลไซเมอร์
การอ่านหนังสือ นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้สมองพัฒนาและทำงานอย่างสม่ำเสมออีกด้วย สำหรับใครที่ต้องการห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์จึงควรหันมาฝึกลองอ่านหนังสือดูบ้าง เปิดโอกาสให้สมองได้คิด วิเคราะห์ และทำงานเพื่อกระตุ้นเซลล์สมองดูบ้าง โดยเฉพาะหากใครที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อย่าลืมจัดกิจกรรมเสริมทักษะกระตุ้นสมองให้ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมได้อ่านหนังสือง่าย ๆ เน้นที่มีภาพประกอบสวยงาม หรือเป็นหนังสือที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์คุ้นเคย ก็จะยิ่งช่วยเปิดใจให้กับผู้ป่วยความจำเสื่อมได้ง่ายขึ้น
- เล่นเกมฝึกสมองลดความจำเสื่อม
ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือการดูแลเด็กในทุกช่วงวัย สิ่งสำคัญ คืออย่าปล่อยให้สมองหยุดการเรียนรู้ การหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านวิชาการจากการอ่านหนังสือ หรือจากการเล่นเกมฝึกสมองเป็นการช่วยลดความเสี่ยงโรคความจำเสื่อมได้ อีกทั้งการเล่นเกมยังช่วยฝึกสมาธิให้กับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เพลิดเพลินและพัฒนาร่างกายให้ปรับตัวกับกิจวัตรประจำวันได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งหากเล่นเกมฝึกสมองร่วมกับเพื่อนผู้สูงอายุในช่วงวัยเดียวกันก็ยิ่งช่วยในด้านการเข้าสังคมด้วยเช่นกัน
- ออกกำลังกายลดความเสี่ยงโรคความจำเสื่อม
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ควรหมั่นฝึกฝนให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี หรือออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อร่างกายของผู้ป่วยแข็งแรง อีกทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการทำคาดิโอจะช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เพิ่มขึ้น 60 – 85 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด กระตุ้นให้ร่างกายสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางรายที่มีอาการของหัวใจร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์หรือได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักกายภาพบำบัดก่อนทุกครั้ง เพราะแม้ว่าการออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยความจำเสื่อม แต่หากออกกำลังกายหนักจนเกินไป หรือออกกำลังกายในที่แจ้ง แทนที่ร่างกายจะดีขึ้นอาจทรุดหนักลงได้
กิจกรรมเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความจำ ลดอาการความจำเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่ากิจกรรมนั้น คือความรักความดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัว หากคนในครอบครัวและคนดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีความอดทน ใจเย็น หมั่นดูแลผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
หากครอบครัวท่านใดที่มียังไม่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สามารถเลือกใช้บริการ อายุวัฒน์ ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ ได้ ที่นี่เรามีทีมแพทย์และพยาบาลมากประสบการณ์ เพียบพร้อมที่พักและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่พร้อมต่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างมีคุณภาพ ทีมงานของเราพร้อมดูแลคนที่คุณรักเปรียบเสมือนคนในครอบครัวตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา
https://www.bbc.com/thai/international-40665068