การเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดในสมอง แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลักด้วยกัน ได้แก่ เส้นเลือดในสมองแตก และหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงสมองได้ ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอัมพฤกษ์และอัมพาตในที่สุด

อย่างไรก็ตาม อาการอัมพฤกษ์และอัมพาตในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกสามารถป้องกันและดูแลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้หากปฏิบัติอย่างถูกวิธี และเพื่อเป็นการให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกและดูแลผู้ป่วยอัมพาตอย่างถูกต้อง อายุวัฒน์ ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ จะมาแนะนำ 6 ข้อควรที่คนดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกและดูแลผู้ป่วยอัมพาตต้องรู้ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยโรค Stroke จะมีอะไรบ้างนั้นมาทำความเข้าใจกันเลย

  1. ความดันโลหิต ปัจจัยเสี่ยงเป็นโรค Stroke

คนที่มีอาการความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกได้ ซึ่งมีโอกาสมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากครอบครัวและผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โอกาสความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรค Stroke ก็จะลดลงได้ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน รวมถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตแล้วเช่นกัน คนดูแลผู้ป่วยอัมพาตควรควบคุมและหมั่นตรวจความดันโลหิตอยู่เสมอ เพราะแม้ว่าจะป่วยเป็นแล้ว แต่หากควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนที่ตามก็จะยิ่งน้อยลงได้

  1. ผู้สูงอายุหกล้ม อุบัติเหตุที่น่ากลัว

แม้ว่าอุบัติเหตุหกล้มในกลุ่มผู้สูงอายุจะไม่ใช่สาเหตุของอาการเส้นเลือดในสมองแตก หรืออัมพฤกษ์และอัมพาต แต่ครอบครัวและคนที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุก็ควรให้ความดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ เพราะอุบัติเหตุหกล้มเพียงเล็กน้อย แต่หากศีรษะได้รับการกระทบกระแทก อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการเลือดออกในกะโหลก และเป็นสาเหตุของอาการโรคร้ายอื่น ๆ ตามมาในภายหลังได้เช่นกัน

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดต้องเป็นอัมพาตทุกรายจริงหรือ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองไม่ใช่ทุกรายที่จะป่วยและมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะผู้ป่วยโรค Stroke บางรายอาจมีอาการเพียงชั่วคราวและหายไปภายในเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น ซึ่งแพทย์มักเรียกว่าภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว โดยผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก หากแพทย์และครอบครัวคอยดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกให้ทำกายภาพบำบัดและรักษาด้วยยาอย่างถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสสามารถกลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติได้

  1. รู้อาการเร็ว ถึงหมอเร็ว มีโอกาสหายขาด

จากผลการศึกษาพบว่า หากครอบครัวและคนดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกสามารถนำตัวผู้ป่วยถึงโรงพยาบาล และแพทย์สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ทันภายในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 30 นาที หลังเกิดอาการ ผู้ป่วยโรค Stroke จะมีอาการดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยมีโอกาสสูงมากที่จะมีอาการใกล้เคียงกับปกติ หรือเหลืออาการพิการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

  1. โรค Stroke สามารถประเมินความเสี่ยงก่อนเกิดได้

80 เปอร์เซ็นต์ของโรคเส้นเลือดในสมองแตกสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงลงได้ หากทุกคนเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเข้ารับการตรวจ Stroke Screening และเข้ารับการประเมินความเสี่ยงในโรคหลอดเลือดในสมอง โดยการตรวจคลื่นสมอง ตรวจหัวใจ และตรวจหลอดเลือดแดงบริเวณคอด้วยคลื่นความถี่สูง ซึ่งหากตรวจพบคุณก็จะได้เตรียมรับมือกับอาการป่วย และจัดหาทีมแพทย์ดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตให้พร้อมก่อนได้

  1. การดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกหลังการรักษาสำคัญต่ออาการอัมพฤกษ์ อัมพาต

การดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก สิ่งสำคัญคือกระบวนการรักษาและการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยหลังจากรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ครอบครัวและนักกายภาพบำบัดต้องคอยดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกให้ทำกายภาพบำบัด ฝึกฝนร่างกายให้มีแรงสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งในบางเบื้องต้นอาจต้องมีการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยเดิน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของขา และสุดท้ายก่อนที่ผู้ป่วยโรค Stroke จะออกจากโรงพยาบาล ทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดจะทำการประเมินความพร้อมและสอนเคล็ดลับในการทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธีให้กับผู้ป่วยและครอบครัว

หากครอบครัวใดที่กำลังมองหาสถานที่ที่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกหรือดูแลผู้ป่วยอัมพาต สามารถติดต่อขอใช้บริการอายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุได้ ที่นี่เรามีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกและรวมถึงการดูแลผู้ป่วยอัมพาตเป็นอย่างดี ทีมงานของเราสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนที่คุณรักตลอด 24 ชั่วโมง รับรองคนที่คุณรักจะมีความสุข ปลอดภัย และได้รับความรักและความเอาใจใส่อย่างเต็มที่แน่นอน

 

แหล่งที่มา

https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/cerebrovascular_accident

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/อัมพฤกษ์-อัมพาต

https://rehab.redcross.or.th/การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเ/

https://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3516