การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ครอบครัวจะต้องให้ความรักและความใส่ใจเป็นพิเศษ

เพราะอาการของผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมนั้น นอกจากจะมีอาการความจำเสื่อมแล้ว ผู้ป่วยยังมีปัญหาในด้านการสื่อสาร การถ่ายทอดอารมณ์ และการดูแลตัวเองในการประกอบกิจวัตรประจำวัน บางรายหากมีอาการหนักอาจถึงขั้นที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถขยับเคลื่อนย้ายร่างกายไปไหนเองได้เลย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมภายในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ บทความนี้เราจะมาแนะนำ 8 เคล็ดลับการจัดบ้านให้พร้อมต่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีเคล็ดลับอะไรบ้างนั้นมาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย

  1. จัดเตรียมพื้นที่กิจกรรมให้พร้อมสำหรับผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม

การปล่อยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของสมองและยังคงความสามารถในการนึกคิดและการจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ ที่สำคัญ การที่ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมได้ทำกิจกรรมกระตุ้นสมองที่ชื่นชอบถือเป็นยาวิเศษที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุข อารมณ์ดี และรู้สึกผ่อนคลายลงได้ ดังนั้น ครอบครัวและผู้ดูแลอย่าลืมจัดเตรียมพื้นที่กิจกรรมให้พร้อมสำหรับดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์กันด้วยละ

  1. ติดกล้องวงจรปิด

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน รวมถึงรอบ ๆ บริเวณนอกบ้านจะช่วยให้คนในครอบครัวและผู้ดูแลสามารถติดตามเฝ้าอาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะบางอาการที่ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมักแสดงอาการออกมาจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายในช่วงเวลาทั่วไปเลย ที่สำคัญ การติดกล้องวงจรจะช่วยให้คุณสามารถสังเกตอาการผู้ป่วยความจำเสื่อมได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลว่าผู้ป่วยจะมีอาการระแวงและวิตกกังวลอีกด้วย

  1. ห้องนอนโล่งโปร่งสบายดีที่สุด

ห้องนอนสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ควรมีบรรยากาศที่สงบผ่อนคลาย แสงสว่างส่องเข้าทั่วถึง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมรู้สึกสดชื่น สงบ และสัมผัสถึงบรรยากาศที่เป็นกันเองภายในบ้าน ดังนั้นหากบ้านใครที่มีพื้นที่พอสำหรับจัดเตรียมสถานที่ห้องนอนผู้ป่วยความจำเสื่อมโดยเฉพาะ ก็ควรใส่ใจถึงเรื่องแสงสว่างภายในห้องนอนด้วย เพราะยิ่งผู้ป่วยอัลไซเมอร์รู้สึกผ่อนคลายมากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยลดภาวะอาการตึงเครียดและการวิตกกังวลของผู้ป่วยลงได้

  1. ห้องน้ำกว้างและเปิดไฟให้สว่างพร้อม

ห้องน้ำถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายต่อตัวผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ดังนั้นครอบครัวและผู้ดูแลจึงควรเตรียมห้องน้ำให้พร้อม โดยห้องน้ำควรที่จะมีพื้นที่โล่งกว้างเพียงพอต่อการจัดวางเก้าอี้นั่งอาบน้ำ และผู้ดูแลสามารถเข้าไปช่วยผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมในการทำธุระส่วนตัวได้ ที่สำคัญ ห้องน้ำควรเปิดไฟให้สว่างพร้อมตลอดทุกคืน เพื่อที่ครอบครัวสามารถเฝ้าสังเกตยามที่ผู้ป่วยความจำเสื่อมเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืนได้

  1. เปลี่ยนประตูเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยความจำเสื่อมในการจดจำ

ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมักมีอาการหลงลืมห้องต่าง ๆ ภายในบ้านอยู่เสมอ ยิ่งหากบ้านไหนที่มีหลายห้องหลายประตู ผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะหลงลืมทางไปห้องนอนตนเองได้ง่าย ดังนั้นการเปลี่ยนประตูห้องนอนผู้ป่วยความจำเสื่อมใหม่ในช่วงเริ่มแรก และค่อย ๆ สอนให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จดจำประตูห้องนอนของตนเองใหม่ สามารถช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี

  1. เตรียมทางลาดสำหรับรถเข็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัลไซเมอร์

หากบ้านไหนที่ไม่มีการจัดเตรียมทางลาดสำหรับรถเข็นและเตียงผู้ป่วยให้พร้อม เมื่อถึงจุดที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เข้าสู่ระยะอาการที่ไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองจนถึงขั้นกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เมื่อนั้นการเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมจะเป็นไปอย่างยากลำบากมาก ดังนั้นการเตรียมทางลาดสำหรับเข็นอุปกรณ์เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนการเตรียมบ้านเพื่อดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในอนาคต เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องพาผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการ การดำเนินการจะเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย และปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยความจำเสื่อมด้วย

  1. พื้นที่สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

บ้านไหนที่ไม่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การจ้างพยาบาลหรือผู้ดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สำคัญมาก ซึ่งครอบครัวก็ควรจัดเตรียมพื้นที่ห้องพักสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้พร้อมด้วย โดยผู้ดูแลสามารถนอนพักผ่อน หรือทำกิจธุระส่วนตัวได้ อย่างไรก็ตาม หากบ้านไหนที่ไม่สะดวกจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ก็สามารถใช้บริการอายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุได้ เพราะที่ศูนย์ของเรามีทีมแพทย์และพยาบาลพร้อมดูแลคนในครอบครัวได้อย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง

  1. กั้นรั้วบ้านและติดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน

ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมบางรายมักจะชื่นชอบการเดินเล่นนอกบ้าน ซึ่งถือเป็นข้ออันตรายอย่างมาก เนื่องจากบางรายมักมีอาการความจำเสื่อมและหลงลืมทางเดินกลับบ้านตนเองได้ ดังนั้นการกั้นรั้วบริเวณรอบบ้านให้พร้อมและกำหนดประตูทางเข้าออกบ้านเพียงทางเดียวจึงเป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวพึงกระทำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เดินเล่นจนออกนอกบริเวณบ้านหายไปได้ ที่สำคัญ อย่าลืมติดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินไว้บริเวณหน้าประตูบ้านด้วย เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเพื่อนบ้านจะได้สามารถโทรตามคนในครอบครัวให้มารับและดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ทันที