หากพูดกันถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะที่ใกล้จะเสียชีวิต เราก็จะได้พบกับคำศัพท์สามคำนี้ซึ่งได้แก่ Hospice, Supportive Care, และ Palliative Care ซึ่งทั้งสามคำนี้นั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก เพราะกล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคร้ายแรง และผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายเช่นเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วทั้งสามคำนี้นั้นใช้กับบริบทในการดูแลผู้ป่วยที่ต่างกันออกไป ซึ่งเราได้เคยให้คำนิยมเกี่ยวกับคำว่า Palliative Care หรือการรักษาแบบประคับประคองไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมากล่าวถึงอีกสองคำที่เหลืออย่าง Hospice และ Supportive Care กันบ้าง มาดูกันว่าทั้งสองคำนี้จะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 

Supportive Care คืออะไร?

ความหมายของ Supportive Care

Multinational Association of Supportive Care in Cancer ได้บัญญัติความหมายของ Supportive Care ในผู้ป่วยมะเร็งเอาไว้ว่าเป็น “การป้องกันและการจัดการกับผลร้ายของมะเร็งและการรักษา ซึ่งรวมถึงการจัดการอาการทางร่างกายและจิตใจและผลข้างเคียงตลอดจนประสบการณ์เกี่ยวกับการเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัย การรักษาจนถึงการดูแลหลังการรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การป้องกันมะเร็งทุติยภูมิ การรอดชีวิต และการดูแลระยะสุดท้าย เป็นส่วนสำคัญสำหรับ Supportive Care”

ที่มาของการรักษาแบบ Supportive Care

การรักษาโรคมะเร็งประสบกับความสำเร็จอย่างมากในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 แต่กลับแลกมาด้วยผลข้างเคียงที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยหลายคนต้องปฏิเสธการรับการรักษาเพราะทนกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นการรักษาแบบ Supportive Care ขึ้นมาเพื่อรักษาอาการข้างเคียงจากผลการรักษาเหล่านี้ ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะสำหรับการรักษาผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง

ความแตกต่างของ Suportive Care และ Palliative Care

แท้จริงแล้วทั้ง Suportive Care และ Palliative Care นั้นมีความหมายเดียวกันนั่นคือ หมายถึงการรักษาที่เน้นบรรเทาอาการเจ็บป่วยร้ายแรงอันเกิดจากโรคร้าย อย่างโรคมะเร็งและสามารถให้การรักษาเมื่อใดก็ได้ระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในอาการเจ็บป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวและสบายใจมากขึ้น เพียงแต่ว่าจากการศึกษาในอเมริกาชี้ให้เห็นว่าผู้คนนั้นสบายใจที่จะใช้คำว่า Supportive Care มากกว่าการใช้ Palliative Care เพราะความหมายตรงตัวของ Palliative Care ที่หมายถึงการรักษาที่เน้นการบรรเทาความเจ็บปวดแต่ไม่ได้รักษาที่สาเหตุของการเกิดความเจ็บปวดหรือโรคร้าย นั่นทำให้ความหมายของคำว่า Palliative Care อาจก่อให้เกิดความรู้สึกด้านลบในสายตาผู้อ่าน เพราะหมายถึงการยอมแพ้ให้กับโรคร้ายนั่นเอง

แต่สำหรับในภาษาไทยไม่ว่าจะเป็นคำว่า Suportive Care หรือ Palliative Care ก็สามารถใช้คำว่า ‘การรักษาแบบประคับประคอง’ ทดแทนกันได้ และให้ความหมายที่ดูแล้วไม่ได้สื่อถึงแง่ลบจนเกินไป

Hospice คืออะไร?

ความหมายของ Hospice [H3]

Hospice คือ การรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยอันเกิดจากโรคร้ายแรงและโรคลุกลามในผู้ป่วยที่ได้ได้รับการประเมินว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน (ไม่เกิน 6 เดือน) โดยการรักษาจะเน้นการดูแล การให้ความสะดวกสบาย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยด้วยโรคร้ายแรงและมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน

ความแตกต่างของ Hospice และ Supportive/Palliative Care

การรักษาแบบ Hospice และ Supportive/Palliative Care มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการรักษาประเภทเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการรักษาแบบ Hospice Care นั้น มีแค่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคร้ายที่ได้รับการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกิน 6 เดือน และการรักษาแบบ Supportive Care นั้นสามารถทำการรักษาไปพร้อมกับการรักษาโรคมะเร็ง อย่างเช่น การฉายแสง หรือการทำเคมีบำบัด ในขณะที่การรักษาแบบ Hospice Care นั้นไม่สามารถทำได้ ทำได้แค่ประคองอาการให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากอาการต่าง ๆ ของโรคร้ายเท่านั้น

 

บริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากอายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม

ที่อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม เรามีบริการการรักษาแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคร้าย โรคลุกลาม หรือผู้ป่วยภาวะวิกฤตต่าง ๆ รวมไปจนถึงผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย การยอมรับเกี่ยวกับแาการเจ็บป่วย หรือแม้กระทั่งรับรู้ว่าความตายกำลังจะมาถึงมนอีกไม่ช้า แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดและลำบากใจ สำหรับทั้งตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง เราจึงมุ่งเน้นการรักษาที่บรรเทาทั้งอาการเจ็บป่วยรวมถึงบรรเทาความเครียดและความกังวลที่อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว โดยการรักษาที่เรามีให้นั้นครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณและศาสนา สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามค่าบริการหรือต้องการคำปรึกษา สามารถโทรมาสอบภถามได้ที่ 099-4244566

 

ที่มาข้อมูล: