การกายภาพบำบัด นับเป็นหนึ่งในเคล็ดลับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือแม้กระทั่งสามารถใช้กับการดูแลผู้ป่วยทั่วไปด้วยก็ได้ เพราะการกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อของผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถลุกขยับเดินออกไปไหนได้เป็นเวลานาน ได้กลับมาทำกายบริหารให้กล้ามเนื้อได้คุ้นชินกับการทำงานใกล้เคียงกับยามปกติ และมีเรี่ยวแรงพร้อมลุกออกมาใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองนั่นเอง ที่สำคัญยังช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงสมรรถภาพของร่างกายตัวเองได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

แต่การทำการกายภาพบำบัดจะไม่สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ เพราะกล้ามเนื้อของผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้ถูกใช้งานเป็นเวลานาน จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพบำบัดคอยดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างใกล้ชิด เพราะเหตุนี้จึงทำให้ตามเนอสซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือแม้แต่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยทั่วไป ต่างก็ต้องมีนักกายภาพบำบัดคอยให้ความดูแลอยู่เสมอ

สำหรับครอบครัวไหนที่กำลังประสบปัญหาในส่วนนี้ หรือต้องการคำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อ Aryuwat ศูนย์ดูแลผู้ป่วย พระราม2 ได้ทันที

หลักการทำกายภาพบำบัดเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญด้วยกัน

1.การทำกายภาพบำบัดร่างกายส่วนบน

การกายภาพบำบัดสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในส่วนนี้ จะเน้นที่การขยับเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อและการทำงานของมือ ข้อมือ ข้อศอก และแขนเป็นหลัก โดยนักกายภาพบำบัดจะให้ผู้ป่วยทำการยก บิด และงออวัยวะส่วนบนต่าง ๆ อย่างช้า ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ค่อย ๆ ขยับ เพื่อลดอาการบาดเจ็บ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลผู้ป่วยเป็นกรณีพิเศษ

2.การทำกายภาพบำบัดร่างกายส่วนล่าง

การกายภาพบำบัดร่างกายส่วนล่างสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้เชี่ยวชาญตามเนอสซิ่งแคร์จะให้ผู้ป่วยได้ทำการขยับกล้ามเนื้อส่วนเท้า ข้อเท้า เข่า และขานั่นเอง โดยหลักการจะไม่ต่างกับการกายภาพบำบัดส่วนบน จะเน้นที่การค่อย ๆ ขยับกล้ามเนื้ออย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ดูแลผู้ป่วยจนกล้ามเนื้อและร่างกายของผู้ป่วยคุ้นชินใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด จึงเริ่มต้นให้ผู้ป่วยได้ทดลองออกไปใช้ชีวิตตามปกติต่อไป

การดูแลผู้ป่วยทั่วไปไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ด้วยการทำกายภาพบำบัด

นอกจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยการทำกายภาพบำบัดแล้ว ผู้สูงอายุและรวมถึงผู้ป่วยทั่วไปที่พักรักษาตัวเป็นเวลานานสามารถทำกายภาพบำบัดได้เช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อที่หยุดนิ่งเป็นเวลานานได้ขยับฟื้นฟูคืนสู่สภาพการทำงานตามปกติ แต่การเริ่มต้นทำกายภาพบำบัดก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นกัน เพราะหากทำผิดท่าหรือเริ่มต้นทำเองอย่างขาดความรู้ ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่มเติมได้ โดยท่าการทำกายบริหารนั้นจะค่อนข้างแตกต่างจากการทำกายภาพบำบัดเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพราะผู้ดูแลจะให้ผู้ป่วยได้ลองขยับร่างกาย ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองโดยจะคอยดูแลตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ต่างกับการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงในช่วงแรก ที่ผู้ดูแลจะเป็นคอยจับประคับประคองดูแลผู้ป่วยให้ทำกายภาพบำบัดให้นั่นเอง

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การทำกายภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและส่งผลได้ดีที่สุด

ไม่ว่าจะทำกายภาพบำบัดเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือสำหรับดูแลผู้ป่วยทั่วไป จะเพื่อวัตถุประสงค์ไหนก็ตาม ทีมงานจากศูนย์ดูแลผู้ป่วยและครอบครัวจะต้องหมั่นให้ผู้ป่วยได้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำท่าทางถูกต้องตามหลักเกณฑ์ปฏิบัติด้วยเช่นกัน และที่ขาดไม่ได้เลย คือจิตใจที่ไม่ย่อท้อของทั้งครอบครัวและผู้ป่วยเอง ห้ามถอดใจโดยเด็ดขาด เพราะหากคุณถอดใจเมื่อไหร่ ผู้ป่วยก็จะหมดกำลังใจตามไปด้วยเช่นกัน

การทำกายภาพบำบัดเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียง ในช่วงแรกอาจจะดูเหมือนยากและซับซ้อน ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยล้าและไม่อยากที่จะทำกายภาพบำบัด แต่เชื่อเถอะว่าหากผู้ป่วยและครอบครัวไหนที่ตั้งใจจริง หมั่นให้ผู้ดูแลได้มีโอกาสคอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี รับรองว่าผู้ป่วยจะมีสุขภาพกล้ามเนื้อแข็งแรง มีเรี่ยวแรงพร้อมกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติอย่างแน่นอน

สำหรับครอบครัวไหนที่กำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้ป่วย พระราม2 สามารถติดต่อขอใช้บริการ Aryuwat ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้ ที่นี่เรามีทีมงานพร้อมให้บริการครอบครัวและคนที่คุณรักอย่างใกล้ชิดแน่นอน