การดูแลประคับประคอง หรือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ Palliative care คือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในอนาคต เช่น การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยและคนในครอบครัวแบบองค์รวม ทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ เตรียมความพร้อมให้ครอบครัวสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข ตลอดจนผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถจากไปได้อย่างสงบ

หลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ Palliative care

  • ดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว

ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้าย หรือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากโรคอื่น ๆ สิ่งสำคัญที่บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนต้องตระหนักและให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ คือการดูแลรักษาสภาพจิตใจและสภาพทางกายของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อคนใดคนหนึ่งในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าคนในครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยไปด้วย เพราะฉะนั้นควรคำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ

  • มุ่งเน้นสร้างความสุข เพื่อลดความทุกข์ทรมาน

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care) ควรมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัว เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกิจกรรมและการรักษาต่าง ๆ ควรต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์อย่างใกล้ชิดเสมอ

  • ดูแลผู้ป่วยแบบเป็นธรรมชาติ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง (Palliative care) ควรมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและคนในครอบครัวผ่อนคลาย พยายามรักษาและดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เร่งการเสียชีวิต และก็ไม่จำเป็นต้องยืดการเสียชีวิต เพราะในบางครั้งการยืดชีวิตอาจส่งผลให้ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวรู้สึกทรมานมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกต้องการพักผ่อนคลายในสถานที่ที่คุ้นเคย เพื่อผู้ป่วยและคนในครอบครัวรู้สึกมีความสุขและผ่อนคลายมากที่สุด ดังนั้นสถานที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นที่โรงพยาบาลเสมอไป แต่สามารถเป็นที่ไหนก็ได้ที่ผู้ป่วยมีความสบายใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่อาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์เองด้วย

  • ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายรายมักเลือกใช้ช่วงระยะเวลาสุดท้ายของชีวิตร่วมกับคนในครอบครัว จึงมักกลับมาใช้ชีวิตและรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน แต่การจะเลือกการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้านนั้น ทางครอบครัวและแพทย์ต้องเตรียมความพร้อมให้ดี ซึ่งอาจมีการจัดหาพยาบาลหรือผู้ดูแลส่วนตัวมาช่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัว

  • ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ

สำหรับบางครอบครัวที่ไม่มีความพร้อม หรือผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักมาก การตัดสินใจเลือกดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ Palliative care ที่ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากที่ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุนั้นมีสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคม รวมถึงคนในครอบครัวได้อย่างสบายไร้กังวล มีทีมแพทย์และทีมพยาบาลคอยอำนวยความสะดวก ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องกังวลว่าคนที่คุณรักจะรู้สึกโดดเดี่ยวหรือห่างไกลกับครอบครัวเลย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งนั้นเป็นการดูแลที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและต้องดูแลกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นหากเป็นไปได้ เราขอแนะนำให้คุณเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญในการช่วยดูแลประคับประคองผู้ป่วยให้ระยะสุดท้ายจะดีกว่า เพื่อความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งผู้ป่วยและครอบครัวเองด้วย

หากคุณและครอบครัวกำลังมองหาสถานที่สำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็ง หรือดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน สามารถเลือกใช้บริการ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ ยินดีให้บริการ ที่นี่เรามีบ้านพักที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน พร้อมด้วยทีมแพทย์และพยาบาลมืออาชีพ สามารถดูแลประคับประคองคนที่คุณรักได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาปรึกษาเราและมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรักกันเถอะ

 

แหล่งที่มา

https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/palliative-care

https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative1th

https://www.phyathai.com/article_detail/3214/th/การดูแลแบบประคับประคอง_(Palliative_Care)_สำหรับผู้ป่วยและครอบครัว

https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=592