หากใครที่มีผู้สูงอายุในบ้านหรือเป็นผู้สูงอายุเอง จะเข้าใจกับอาการของคนแก่ที่ชอบนอนกลางวัน ตื่นตอนกลางคืน หรือมักจะลุกขึ้นหรือลงจากเตียงบ่อยในตอนกลางคืน จนลูกหลานหรือคนที่ดูแลต้องบ่นอยู่บ่อยครั้งว่า คนแก่ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน

แต่แท้จริงแล้วอาการนอนไม่หลับเป็นอาการปกติในผู้สูงอายุ เนื่องจากการทำงานของร่างกายเสื่อมลง ฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับมีระดับลดลง โรคประจำตัวที่มารบกวนการนอน และการรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิดที่ส่งผลให้การนอนไม่สามารถนอนหลับลึกได้ จึงส่งผลให้คนแก่มีเปอร์เซ็นต์การนอนไม่หลับมากกว่าเมื่อเทียบกับคนในช่วงวัยหนุ่มสาว และปัญหาการนอนไม่หลับนี้อาจไปส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำการแก้ไขหรือเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

สอบถามบริการ: 099-424-4566


สาเหตุการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

อายุที่มากขึ้นและความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

เมื่อคนเราอายุเพิ่มขึ้น สภาพร่างกายของคนเราก็จะเสื่อมลง เช่นเดียวกันกับสมองของคนเราที่เสื่อมสภาพลงเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ลักษณะของการนอนของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป รู้สึกหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือรู้สึกง่วงนอนเร็วแต่ตื่นขึ้นมากลางดึก ซึ่งเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุไม่ได้มีอาการรู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวันก็ถือว่าผู้สูงอายุได้นอนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายแล้ว

โรคประจำตัว

โรคบางอย่างมีอาการที่อาจไปกระทบกับการนอน เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต ที่ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะดึก ๆ จึงทำให้ผู้สูงอายุนอนหลับสนิทได้ยาก หรืออาการปวดข้อ ปวดกระดูก ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ก็อาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมาตอนกลางดึกเช่นเดียวกัน

ยาบางชนิด

ผู้สูงอายุอาจต้องรับประทานยารักษาโรคหลายชนิด และในยาบางตัวมีผลออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง เช่น ยาแก้ชัก ยารักษาไทรอยด์ ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านซึมเศร้า ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

ปัญหาจากสุขภาพจิต

หากผู้สูงอายุมีความเครียด ความกังวล ความรู้สึกเศร้า รู้สึกคิดมาก หรือภาวะซึมเศร้า ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนหลับยาก และตื่นขึ้นมากลางดึกได้

พฤติกรรม

หากผู้สูงอายุชอบนอนกลางวัน หรือดื่มชา กาแฟ เป็นประจำอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในตอนกลางคืนของผู้สูงอายุได้เช่นเดียวกัน

การใช้ยานอนหลับเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

กลุ่มยา Benzodiazepine

เป็นกลุ่มยานอนหลับชนิดที่ออกฤทธิ์แรงและรวดเร็ว ตัวยาจะช่วยให้ผู้สูงอายุคลายกังวลและนอนหลับได้ง่ายขึ้น และถูกนำมาใช้บ่อย ๆ ในเวชปฏิบัติ ยาในกลุ่มนี้ เช่น Alprazolam, Midazolam, Clonazepam, Diazepam, Lorazepan, Triazolam เป็นต้น โดยการออกฤทธิ์ของตัวยาจะมีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์สั้นจะใช้สำหรับแก้ปัญหาผู้ป่วยที่นอนหลับยากในช่วงเริ่มต้นของการนอน ส่วนกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์นานจะใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาหลับไม่สนิทระหว่างคืนหรือตื่นเร็วกว่าปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วย รวมถึงอายุ และโรคประจำตัวก่อนให้ยา

เพียงแต่ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดประสาทจึงอาจทำให้ผู้ได้รับยามีอาการข้างเคียง อย่างการง่วงซึมในเวลากลางวัน กระบวนการคิดและตัดสินใจลดลง, การศูนย์เสียความจำแบบไปข้างหน้า (anterograde amnesia), ภาวะสับสน, ละเมอ, เดินเซ เป็นต้น การใช้ยาในผู้สูงอายุอาจต้องลดขนาดลงและต้องระวังในเรื่องผลข้างเคียงเป็นพิเศษ และการรับประทานยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการดื้อยา และเกิดอาการขาดยาได้เมื่อหยุดการให้ยา

กลุ่มยา Non-Benzodiazepine

ยาในกลุ่มนี้ที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ เช่น Zolpidem ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ร่างกายดูดซึมได้ดี แต่ข้อควรระวัง คือ อาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการง่วงซึม มึน หรือละเมอ

กลุ่มยาต้านซึมเศร้า

ยาในกลุ่มนี้ เช่น Trazodone , Mirtazapine เป็นกลุ่มยาที่ช่วยผู้ป่วยในเรื่องของการปรับอารมณ์ คลายเครียด คลายวิตกกังวล และยังมีฤทธิ์ที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ

กลุ่มยา melatonin

เป็นกลุ่มยาที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อเลียนแบบสารชนิดเดียวกันกับสารสื่อประสาทในสมอง ที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้รู้สึกอยากนอนหลับ โดยปกติ ‘เมลาโทนิน’ ในสมองเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดวงจรการนอนหลับ ช่วยให้คนเรารู้สึกอยากนอน การรับประทานยาชนิดนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุที่ปัญหาการหลั่งของสารเมลาโทนินลดน้อยลงตามวัยได้

เมื่อผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับ อาจจะต้องใช้ยาในกลุ่มเหล่านี้เพื่อช่วยทำให้การนอนหลับในตอนกลางคืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คลินิกรักษาผู้สูงอายุนอนไม่หลับ พระราม 2 Aryuwat Nursing Home

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ถึงแม้อาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุจะแก้ได้อย่างรวดเร็วด้วยการรับประทานยา แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จ่ายยาให้กับผู้สูงอายุได้เหมาะสมกับสภาวะและอาการของผู้ป่วย แต่หากจะให้การรักษาอาการคนแก่นอนไม่หลับให้เห็นผลในระยะยาว อาจต้องอาศัยการปรับปรุงกระบวนการคิดของผู้สูงอายุด้วย เพื่อลดพฤติกรรมการคิดที่เครียดและกังวลให้ลดลง โดยวิธีนี้อาจให้ผลที่ช้าในช่วงแรก แต่จะได้ผลต่อไปในระยะยาว และหากผู้สูงอายุท่านใดที่กำลังมองหาคลินิก รักษาโรคนอนไม่หลับ ใกล้คุณในย่านพระราม 2 สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม โทรเข้ามาเพื่อรับคำปรึกษาได้ที่ 0994244566