การดูแลผู้ป่วยติดเตียงคืออะไร ใครต้องได้รับการดูแล

หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังจนเกิดสภาวะร่างกายเสื่อมโทรม ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันและต้องนอนบนเตียงในระยะเวลานาน ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามที่ต้องการจึงมีความต้องการผู้ช่วยเหลือในการขยับเคลื่อนตัว ทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เข้าห้องน้ำ เดินไปมา ป้อนอาหาร 

ผู้ที่อาจต้องได้รับการดูแลแบบติดเตียงเช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ ผู้ป่วยกระดูกหัก ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช โดยสามารถแบ่งประเภทได้เป็น 3 ประเภทตั้งแต่ ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียว เป็นกลุ่มที่ยังไม่หนักมากและสามารถขยับร่างกายได้ ดูแลตัวเองได้ และ ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และเสี่ยงเป็นแผลกดทับจากการนอนนานๆ กลุ่มสีแดงคือกลุ่มสุดท้ายที่ร้ายแรงที่สุด ไม่สามารถขยับร่างกายได้ ไม่สามารถพลิกตัวได้ กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด

 

ความหมายและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยขึ้นอยู่กับความรุนแรง แต่หากมีผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นก็จะช่วยบรรเทาอาการและทำให้มีกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความสำคัญมากๆ จึงมีการพัฒนานวัตกรรมดูแลผู้ป่วยใหม่ๆมากขึ้น มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น วันนี้เราจึงมาบอกความสำคัญของนวัตกรรมดูแลผู้ป่วยซึ่งมีประโยชน์ดังนี้

  • ความสะดวกสบาย : นวัตกรรมดูแลผู้ป่วยติดเตียงทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้นทั้งกับผู้ป่วยและผู้รักษา เช่น แพทย์หรือพยาบาลที่ไม่จำเป็นต้องมีการเข้ามาตรวจสอบบ่อยครั้งเท่าเดิม แต่เป็นการตรวจเช็คจากอุปกรณ์ที่ตรวจสอบให้แทน หรือ อย่างคุณหมอที่สามารถเยี่ยมคนไข้ผ่านทางระยะไกล และยังตรวจสอบจากข้อมูลที่ส่งจากอุปกรณ์เหล่านั้นได้ 
  • การดูแลแบบทั่วถึง ได้ปริมาณมากขึ้น : แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามอาการของผู้ป่วยได้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลทุกครั้งเพียงมาแค่ครั้งที่จำเป็นจากการใช้ remote patient monitoring (RPM) ทำให้การรักษาทางไกล ไม่ว่าจะบ้านหรือเขตห่างไกลเข้าถึงการแพทย์ได้มากยิ่งขึ้น ลดการแพร่หรือติดเชื้อโรคจากโรงพยาบาลได้ และ ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่คนไข้ต้องแบกรับ เพราะทำให้แพทย์สามารถรักษาได้มากขึ้น และ รวดเร็วขึ้น  
  • การดูแลแบบมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดเวลา : นวัตกรรมใหม่ๆทำให้การรักษามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาที่สามารถมีการตรวจจับเซนเซอร์อยู่เสมอทำให้การรักษาตรวจสอบเกิดขึ้นทุกวินาที และหากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงก็สามารถแจ้งสัญญาณเตือนไปยังหมอหรือพยาบาลที่เข้าเวรให้รักษา หรือ หากอยู่ที่บ้าน ก็จะเป็นการแจ้งเตือนผู้ดูแล ยิ่งไปกว่านั้นการใช้เทคโนโลยีตรวจสอบยังมีความแม่นยำมากกว่าการคำนวณจากมนุษย์ทั่วไป สามารถทำการวิเคราะห์และคาดการณ์ในอนาคตได้อีกด้วย 
  • ความไว้วางใจของผู้ป่วย :ประโยชน์เหล่านี้จึงทำให้เกิดความไว้วางใจกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากับสถาบันการแพทย์ที่สามารถใช้นวัตกรรมเหล่านี้ได้มีประสิทธิภาพและสามารถสื่อสารประโยชน์เหล่านี้ได้ 

 

นวัตกรรมจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร

นวัตกรรมที่เข้ามาดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีการทดลองพัฒนามาเยอะมาก นับเป็นประโยชน์ให้กับวงการแพทย์อย่างมาก เป็นการปฏิวัติวงการแพทย์เดิมๆที่ใช้เพียงความรู้ของแพทย์และพยาบาล เช่น อุปกรณ์ตรวจจับโดยใช้เซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของร่างกายผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ เช่น ตรวจจับชีพจร ความดันเลือด การขยับเคลื่อน ออกซิเจน อุณหภูมิร่างกาย หรือ เกณฑ์วัดอื่นๆด้านร่างกาย การตรวจจับตลอดเวลาแบบนี้ทำให้มีการตรวจจับล่วงหน้า ป้องกันเหตุการณ์ร้ายแรงที่สายเกินแก้ ทำให้พัฒนาการรักษาและช่วยให้อาการโรคต่างๆดีขึ้นได้มากกว่าเดิม 

 

AI and Machine learning เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่นำมาผสมเข้ากับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเช่นการใช้ Predictive analytics ในการวิเคราะห์คาดการณ์ล่วงหน้าถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับ จากการใช้อุปกรณ์อื่นๆที่เข้ามาตรวจจับและเก็บข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ AI ในการคาดการณ์จากสิ่งที่มักเกิดขึ้นในอดีต เพื่อป้องกันและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด เช่นการตรวจและคาดคะเนล่วงหน้า หรือ การแนะนำให้ทำการรักษาบางอย่างที่ยังไม่เห็นได้ชัดเจน และ ยังสามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมจากข้อมูลด้าน เพศ อายุ ร่างกาย พฤติกรรมคนไข้ ทำให้มีการวางแผนแบบเฉพาะบุคคล