การนอนหลับเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย ในช่วงวัยแรกเกิดเด็กทารกต้องการการนอน 10 ถึง 14 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย ส่วนในวัยผู้ใหญ่ช่วงเวลาของการนอนที่ร่างกายต้องการจะอยู่ที่ราว ๆ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับพักผ่อนเป็นกิจวัตรที่สำคัญเพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้ซ่อมแซมตัวเองจากความเหนื่อยล้าที่ต้องเผชิญมาตลอดทั้งวัน หากได้รับการนอนหลับที่มีคุณภาพ ร่างกายก็จะซ่อมแซมตนเองได้ดีทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

 

ในผู้สูงอายุเองการนอนหลับพักผ่อนก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวย การทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลงทำให้การหลั่งฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับมีปัญหา จึงส่งผลกระทบกับระยะเวลาในการนอนและการนอนหลับไม่ลึก ทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านสุขภาพอย่างโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาทที่ต้องทานเป็นประจำ ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างเป็นที่มาของการที่เราจะพบเห็นกันบ่อย ๆ ว่า ผู้สูงอายุมักจะนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกหรือตื่นเช้ากว่าลูก ๆ หลาน ๆ 

 

ผู้สูงอายุเองก็ต้องการการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ คือ เราต่างคิดกันเอาเองว่าผู้สูงอายุนั้นต้องการการนอนหลับพักผ่อนน้อยกว่าคนวัยหนุ่มสาว เพราะเห็นว่าผู้สูงอายุนั้นมักตื่นเช้ากว่าลูกหลานแล้วก็อาจไม่ได้มีท่าทีง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน แต่ความเป็นจริงแล้วการที่ผู้สูงอายุตื่นเร็วและใช้เวลาพักผ่อนน้อยนั้นอาจมีสาเหตุมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาการปวดข้อ เป็นตะคริว ปวดปัสสาวะบ่อยกลางดึก กรดไหลย้อน หรือโรคหัวใจและโรคปอดเรื้อรัง 

 

คุณหมอในอเมริกายังกล่าวอีกว่า การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุถดถอยลงและอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวต่อผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย เบาหวาน ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ และแม้แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิต

 

การสร้างสุขอนามัยการนอนที่ดี ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น 

หากอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุยังเป็นระยะเริ่มต้นและไม่ได้มีสาเหตุที่แน่ชัด การปรับปรุงพฤติกรรมบางอย่างจะช่วยให้การนอนหลับทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

  • เข้านอนและตื่นนอนตามเวลาเดิมเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการงีบระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงตอนบ่ายและตอนเย็น
  • ใช้เตียงสำหรับการนอนเท่านั้น หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเตียง เช่น ดูทีวี หรือรับประทานอาหาร
  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มก่อนเข้านอน 1-2 ชั่วโมง รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรเป็นช่วงก่อนนอน
  • อาบน้ำอุ่น หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือหรือฟังเพลงสบาย ๆ ในช่วงก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์ที่มีแสงจ้าก่อนเข้านอน เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

 

การใช้ยานอนหลับและคลินิกรักษาอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุยังคงไม่ทุเลาลง การพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่คลินิกรักษาโรคนอนไม่หลับอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุได้รับการวินิจฉัยสาเหตุการนอนไม่หลับที่แน่ชัดจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้พวกเขายังสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาหรือการใช้ยานอนหลับที่ถูกต้องและเหมาะสมได้อีกด้วย หากคุณกำลังมองหาคลินิก รักษาโรคนอนไม่หลับ ใกล้คุณในย่านพระราม 2 สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม โทรเข้ามาเพื่อรับคำปรึกษาได้ที่ 0994244566

 

ที่มาข้อมูล: 

https://www.utsouthwestern.edu/newsroom/articles/year-2023/may-poor-sleep-older-adults.html